วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการแกล้งดิน

โครงการแกล้งดิน

     
      แกล้งดิน หมายถึง กระบวนการเร่งปฏิกิริยาเคมีในดินซึ่งมีศักย์หรือความพร้อมจะเป็นดินเปรี้ยว ให้เปรี้ยวรุนแรงมีกรดจัด จากนั้นจึงปรับปรุงโดยเติมปูนขาวหรือด่าง ร่วมกับการใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวจนสามารถเพาะปลูกได้ เป็นแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๗ เพื่อการทดลองที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อได้ผลแล้วจึงนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยว เช่น พรุในจังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ดินเปรี้ยวในจังหวัดนครนายก เป็นต้น การแกล้งดิน คือการเร่งปฏิกิริยาเคมีของดินที่มีแร่กำมะถัน หรือสารประกอบไพไรต์ (Pyrite) โดยทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เมื่อดินแห้งสัมผัสกับอากาศ ทำให้แร่กำมะถันกลายเป็นออกไซด์ของเหล็กและซัลเฟต เมื่อทำให้ดินเปียกซัลเฟตผสมกับน้ำกลายเป็นกรดอีกครั้ง เมื่อดินถูกแกล้งสลับไปมาจนกลายเป็นดินที่เปรี้ยวรุนแรงหรือเป็นกรดจัด จากนั้นจึงปรับปรุงดินโดยเติมฝุ่นปูนซึ่งเป็นด่าง ร่วมกับการใช้ระบบชลประทานควบคุมระดับน้ำใต้ดินและนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวจนสามารถเพาะปลูกข้าว พืชไร่เช่น ข้าวโพด ผลไม้เช่นเสาวรสและเลี้ยงปลาเช่นปลานิลได้
แนวพระราชดำริแกล้งดินมาจากการเลียนแบบสภาพธรรมชาติของพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีฤดูแล้ง ๔ เดือน ฤดูฝน ๘ เดือน การทดลองใช้วิธีร่นระยเวลาช่วงแล้งและช่วงฝนในรอบปีให้สิ้นลง ปล่อยให้ดินแห้ง ๑ เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน ๒ เดือน ปีหนึ่งจึงมีภาวะดินแห้งและดินเปียก ๔ รอบ เหมือนมีฤดูแล้งสลับฤดูฝนปีละ ๔ ครั้ง
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ศึกษาวิจัยและปรับปรุงดินโดยวิธีการแกล้งดินจนประสบผลสามารถแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่พรุให้เพาะปลูกได้ และขยายผลไปยังพื้นที่พรุบ้านโคกอิฐ-โคกโพธิ์ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ละ ๕-๑๐ ถัง เป็น ๔๐-๕๐ ถัง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้ยังนำแนวพระราชดำริแกล้งดินไปใใช้ในพื้นที่พรุแฆแฆ จังหวัดปัตตานี มีการปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท ข้าวพันธุ์แก่นจันทร์ ข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง ข้าวพันธุ์หอมสุพรรณบุรี ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
พุทธศักราช ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตแก่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ดำเนินการขอจดสิทธิบัตร และกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เลขที่ ๒๒๖๓๗ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ สำหรับการประดิษฐ์คือ กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)
https://manowkanyarat.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A3-9/

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Blog คืออะไร?

Blog คืออะไร?

บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
- คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง 
- โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger
- จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบของดนตรี

องค์ประกอบของดนตรี

         องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใดเป็นมาตราฐาน องค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้คือ เสียง ทำนอง เสียงประสาน จังหวะ และรูปแบบของดนตรี
1.3.1 เสียง (Tone)         เป็นการยากที่จะกล่าวหรือระบุได้ว่าดนตรีเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้อย่างแน่ชัด จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานและตั้งข้อสังเกตจากโบราณวัตถุหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานตามหลักการและเหตุผล และคำนึงถึงความเป็นไปได้มากที่สุด ข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับกำเนิดของดนตรีมีดังนี้
        ลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นจะมีความแตกต่างไปจากเสียงที่มีความหมายว่า Noise เนื่องจากลักษณะของการเกิดเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงในความหมายว่า Noise นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ เสียงดนตรีไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดจากการเป่า การร้อง การดีด หรือการสี จะเป็นลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone เพราะการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
เสียงประกอบไปด้วยคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการคือ ระดับเสียง ความสั้นยาวของเสียง ความดังเบาของเสียง และสีสันของเสียง
 

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การตัั้งวาวล์

มาลองตั้งวาวล์เองกันดีกว่า *** ไม่ยากอย่างที่คิด ***
ด้วยความที่ผมเป็นคนชอบซุกซนรื้อโน้นรื้อนี่อยู่เรื่อย ครั้งก่อนจับเจ้า"ซูแก่" มาทำการตั้งไฟจุดระเบิด แล้วได้ผลดีส่งผลให้รถน่าใช้ขึ้นอีกเยอะ ทำให้เกิดความคึกที่ต้องจัดการวาวล์เป็นลำดับต่อไป เมื่อสามสี่วันก่อนว่างพอดี เลยดิ่งไปจัดการซื้อเจ้าฟิลเลอร์เกจ เพื่อเอามาทำการวัดในการตั้งวาวล์ เด็กคนขายจัดมาให้ 1 ตัวพอลองดูปรากฎว่ามีหลายค่าที่กระโดดแต่ก็พอใช้ได้ และอีกอย่างอยากจะซื้อไว้หลายๆรุ่นหลายๆค่า เผื่อใช้วัดอย่างอื่นด้วย ถามเด็กที่ร้านว่ามีค่าอื่นๆอีกไหม เด็กที่ร้านก็แสนดีแล้วพี่จะเอากี่ตัวกันแน่ อาจเป็นเพราะเห็นเราดูไม่เหมือนช่างซื้อก็ซื้อไม่กี่อย่างดันถามจุกจิก ผมเลยยิ้มตอบแล้วพูดจาชวนฟังว่า น้องครับถ้าที่ร้านนี้มีเป็นล้านตัวพี่ขอเหมาหมดเลยนะ เถ้าแก่อยู่ไหนพี่จะขอซื้อทั้งร้านเลยพูดจบเด็กคนขายหน้างอ ฝืนบริการผมแบบเสียไม่ได้เห็นรื้อกล่องโน้นกล่องนี้อยู่นานปรากฎว่าไม่มีของหมดเหลืออยู่แบบเดียว ตกลงก็ซื้อมาในราคาร้อยกว่าบาท พร้อมกับซื้อกระปุกน้ำพร้อมปั้มฉีดน้ำหน้ากระจกขนาด 12V อีกสองร้อยกว่าบาท ที่ขาดไม่ได้ซื้อประเก็นฝาครอบสำเร็จสำหรับซูซูกิอีกตัวราคา 60 บาท และซื้ออื่นๆอีกหลายรายการตัวเบาเลย เอ้านอกเรื่องมานานแล้วเข้าเรื่องดีกว่าครับ

ขั้นตอนวิธีการตั้งวาวล์ 
ปกติการตั้งวาวล์จะมีการตั้งอยู่สองสถานะคือขณะเครื่องร้อนและขณะเครื่องเย็น แต่ผมเลือกเอาการตั้งขณะเครื่องเย็นจะดีกว่า ด้วยเหตุผลส่วนตัวว่าขณะที่เครื่องเย็นโลหะจะหดตัวในสภาวะปกติทำให้การตั้งมีความแม่นยำกว่า เพราะถ้าตั้งตอนเครื่องร้อนจะต้องอยู่ในสภาวะที่ร้อนจริงๆตามสภาพใช้งานจริงในจุดที่โลหะขยายตัวสูงสุด ถึงจะได้ค่าที่ถูกต้องและหากตั้งในขณะอุณหภูมิกึ่งๆกลางๆไม่แน่ใจเหมือนกันว่าโลหะยืดขยายตัวแค่ไหน อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ และอีกอย่างการตั้งในขณะเครื่องร้อนจะทำงานลำบากอาจลวกมือพองได้ ผมก็เลยเลือกตั้งวาวล์ตอนเครื่องเย็น ถ้าจะดีตั้งตอนเช้าก็ได้ แต่ผมไม่ค่อยมีเวลาในช่วงเช้า เลยใช้วิธีเปิดฝากระโปรงรถไว้เปิดฝาครอบด้านบนออกไว้ เอาพัดลมเป่าไว้ที่เครื่องยนต์บริเวณใกล้วาวล์ไว้ ทิ้งไว้ 4 ชั่วโมงปรากฎว่าเครื่องเย็นแล้วจึงจัดการตั้งวาวล์ ตามขั้นตอนดังนี้


วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การถอดและการติดตั้งเครื่องยนต์

การถอดและการติดตั้งเครื่องยนต์

วัตถุประสงค์
เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในการถอดอุปกรณ์ของระบบที่เกี่ยวข้องออกจากเครื่องยนต์ วิธีการยกเครื่องออกจากรถยนต์ และยกเครื่องยนต์เข้ารถยนต์
วัสดุอุปกรณ์
รถยนต์ เส้นลวดสำหรับเกี่ยวยกเครื่องยนต์หรือโซ่ฮอยช์ (Hoist) แม่แรง ขาหยั่ง (stand)
เครื่องมือ
เครื่องมือเบื้องต้น
ความรู้เบื้องต้น
เครื่องยนต์ เป็นตัวต้นกำลังของรถยนต์ เมื่อมีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ จะต้องยกเครื่องออกมาจากรถเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไข
การยกเครื่อง
มีกรรมวิธีที่ยาก ง่ายแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของระบบรองรับน้ำหนักและระบบส่งกำลัง แต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติเบื้องต้นมีหลักการที่เหมือนกัน เพื่อความถูกต้องก่อนลงมือทำงานควรจะศึกษาขั้นตอนการถอด และประกอบให้เข้าใจเสียก่อน
ยกเครื่องยนต์ออกจากรถ
รูปการยกเครื่องยนต์ออกจากรถ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความรู้เรื่องเทอร์โบ

ความรู้เรื่องเทอร์โบ

  เกร็ดความรู้เรื่องเทอร์โบ
                เทอร์โบคืออุปกรณ์ในห้องเครื่องที่มีหน้าที่ “อัด” อากาศเข้าห้องให้มากขึ้น เมื่อมีอากาศมากและน้ำมันฉีดหนามากขึ้น จะส่งผลให้การจุดระเบิกในห้องเผาไหม้มีความรุนแรงขึ้น และนั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมพละกำลังของเครื่องยนต์จึงมีมากขึ้นตามลำดับ
    ส่วนประกอบของระบบอัดอากาศประเภทเทอร์โบนอกเหนือจากเทอร์โบนั้น มีเวสเก็ต ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมแรงดันอากาศไม่ให้มีมากเกินไป, โบลวอ็อฟ มีไว้สำหรับป้องกันเทอร์โบเสียหายในขณะที่เรากดคันเร่ง ตัวโบลวอ็อฟจะทำหน้าที่คายแรงดันส่วนเกินที่ไหลย้อนกลับเทอร์โบออก ซึ่งป้องกันไม่ให้เทอร์โบพัง, อินเตอร์คูลเลอร์ มีหน้าที่ลดอุณหภูมิของไอดีก่อนไหลเข้าเครื่องยนต์ เพิ่มความหนาแน่นของอากาศ ทำให้การจุดระเบิดมีประสิทธิภาพดีขึ้น
  ใบเทอร์โบ หรือ Trim เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งที่มีผลต่อความแรงของเครื่องยนต์ แต่การปรับเปลี่ยนค่าทริมจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการไหลของอากาศเท่านั้น
                A/R Ratio คือค่าโข่งของเทอร์โบ ใช้สำหรับการเลือกเทอร์โบใส่เครื่องยนต์ ค่า A/R Ratio มีทั้งฝั่งของไอดีและไอเสีย ซึ่งเป็นตัวที่จะบ่งบอกว่าเทอร์โบตัวนี้เหมาะสมหรือไม่กับเครื่องของเรา
                โข่งไอดี ถ้ามีในเทอร์โบที่ซื้อมาอยู่แล้วจะไม่มีตัวเลือกมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะมีการเซ็ตค่าไว้ให้แล้ว ส่วนโข่งไอเสีย ถือว่าเป็นตัวสำคัญเพราะถ้าเลือกโข่งเล็ก (A/R น้อย) จะทำให้การไหลของอากาศมีความเร็วมากขึ้น แต่ถ้าโข่งใหญ่ จะส่งผลให้ต้องใช้ไอเสียจำนวนมาก ทำให้เครื่องยนต์บูสต์ช้า
                นี่คือเกร็ดความรู้เล็กน้อยของเทอร์โบ เพราะอันที่จริงแล้วการจะเลือกซื้อหรือใส่เทอร์โบนั้นมีความละเอียดกว่านี้มาก ซึ่งสำหรับผู้ที่สนใจจริงๆ ควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามข้อมูลอื่นได้จากมืออาชีพ

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

   

วิธีเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องด้วยตัวคุณเอง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องง่ายกว่าที่คิด และยังช่วยประหยัดเงินให้คุณได้ในระยะยาวด้วย การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที เพียงแต่ขอให้คุณแน่ใจว่าได้ทำตามวิธีการที่ระบุและคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิตทุกประการ
เริ่มจากการเลือกประเภทของน้ำมันเครื่องเชลล์ เฮลิกส์ ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรถของคุณ โดยการคลิกที่นี่ หรือใช้เครื่องมือ Shell LubeMatch ของเรา จากนั้นตรวจดูว่าคุณมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหรือไม่
อุปกรณ์ที่คุณควรเตรียมให้พร้อมคือ:
น้ำมันเครื่องเชลล์ เฮลิกส์ (4 หรือ 5 ลิตร - ตรวจสอบจากคู่มือรถยนต์)
ตัวกรองน้ำมันเครื่องอันใหม่ - ตรวจสอบจากคู่มือรถยนต์
แว่นนิรภัยและถุงมือยาง
ภาชนะและกรวยพลาสติก
แม่แรงยกรถและขาตั้งรับรถ
ประแจกระบอกสำหรับปลั๊กท่อระบาย
กระดาษเช็ดมือแผ่นใหญ่และผ้าขี้ริ้ว
ประแจตัวกรองน้ำมันเครื่อง

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มารู้จักคอมพิวเตอร์กัน

https://www.youtube.com/watch?v=edPJcqN5pXA

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์

 คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การโมดิฟายเครื่องยนต์

การโมดิฟายเครื่องยนต์
...สิ่งหนึ่งที่คนเคยเล่นรถเบนซินจะต้องอดทนเมื่อมาขับดีเซลก็คือ การตอบสนองที่เชื่องช้าไม่ทันทีนข้างขวา ซึ่งเป็นจุดที่ขโมยเวลาไปจากการแข่งขันใดๆ จนอาจทำให้เพลี่ยงพล่ำให้กับเครื่องเบนซินที่มีกำลังน้อยกว่าได้การโมดิฟายเครื่องดีเซลเพื่อเพิ่มแรงม้าแรงบิดกันให้มากๆ เพื่อชดเชยความเฉื่อยชาในการตอยสนอง ก็ยังไม่สามารถที่จะลดอาการรอจังหวะของการกวาดรอบขึ้นและลงได้ ทั้งนี้เพราะว่า การเพิ่มแรงม้า แรงบิด ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องการตอบสนองต่อคันเร่ง เพราะการเพิ่มแรงม้าแรงบิดที่ทำกัน มุ่งเน้นไปที่การกดคันเร่งจมสุด แล้วได้ตัวเลขสูงสุดออกมามากๆความเร็วความช้าของการตอบสนองต่อคันเร่งของเครื่องยนต์ทั้งสองแบบ อยู่ที่เรื่องเดียว คือ ลิ้นผีเสื้อ หรือThrottle
การที่เครื่องยนต์จะเร่งรอบขึ้นได้ หมายความว่าต้องมีกำลังเพิ่มมากขึ้น ยิ่งได้กำลังเพิ่มขึ้นเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งตอบสนองไว การได้กำลังมากขึ้นหมายถึงการเผาไหม้ที่มากขึ้น ซึ่งหมายถึงการเพิ่มน้ำมันและอากาศให้มากขึ้น
การใช้ลิ้นผีเสื้อในการควบคุมปริมาณอากาศของรถเบนซิน ทำให้เครื่องเบนซินได้อากาศเพิ่มได้เร็วกว่าดีเซลมาก การใช้ลิ้นผีเสื้อควบคุมอากาศ จะทำให้เครื่องยนต์เสมือนว่า มันมีท่อไอดีที่ปรับขนาดได้ พอกดคันเร่งเปิดลิ้นผีเสื้อ อากาศที่คอยอยู่ด้านหลังลิ้น ซึ่งมีความดันสูงกว่าด้านหน้าตลอดเวลา ก็ทะลักเข้ามาอย่างไวECU ก็ตอบสนองด้วยการฉีดน้ำมันเพิ่มให้ได้ทันที ให้สังเกตว่า การออกแบบเครื่องเบนซินจะพยายามวางลิ้นผีเสื้อให้ใกล้กับเครื่องยนต์มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เพราะระยะทางจากลิ้นผีเสื้อไปเข้าเครื่องยนต์ หมายถึงเวลาการเดินทางของอากาศที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ซึ่งหมายถึงการตอยสนองที่เร็วนั่นเอง
ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลของเรา ไม่มีลิ้นควบคุมปริมาณอากาศที่ว่านี้อยู่ การเร่งรอบเครื่องยนต์แต่ละครั้ง ต้องรอให้ ECU ฉีดน้ำมันเข้าเครื่องยนต์เพิ่มก่อน ด้วยปริมาณอากาศที่มีอยู่เดิม ซึ่งหากฉีดมากไป ควันก็จะดำ และประสิทธิภาพการเผาไหม้ก็ลดลง เปลืองน้ำมัน แต่ ฉีดน้อยไป ก็ตอบสนองช้า แต่ประหยัด พอรอบเครื่องเริ่มเพิ่มขึ้นจากการเผาไหม้ที่เพิ่มขึ้น เทอร์โบได้ไอเสียเพิ่ม การดูดอากาศก็เพิ่มขึ้นตามแรงดันที่เพิ่มขึ้นในท่อไอดีและจำนวนรอบของการดูดเอง จากนั้น ECU ก็จะสั่งเติมน้ำมันเข้าไปอีกจนกว่าจะเข้าสู่ภาวะสมดุลตามคันเร่งอีกครั้ง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ระยะทางที่อากาศเดินทางจากเทอร์โบ ไปเข้าเครื่อง จึงเป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องการตอบสนองของเครื่องยนต์ คุณมีแรงม้าแรงบิดมาก แต่กว่าจะลากเอามาใช้ได้ ก็พอดีได้ดมควันเพื่อนซะก่อน
นอกจากการทำให้ระยะทางการเดินของอากาศสั้นลงแล้ว การทำให้มันเดินทางสะดวกด้วยท่อที่ตรงที่สุด ก็จะลดการสูญเสียKinetic Energy และแรงเสียดทาน ให้มีการเดินทางได้เร็วขึ้น
การตอบสนองของเทอร์โบ ก็เป็นตัวแปรในเรื่องการตอบสนองด้วย ถ้าเทอร์โบตัวเล็ก น้ำหนักเบา การเพิ่มหรือลดรอบก็ทำได้รวดเร็วกว่าในปริมาณไอเสียที่เปลี่ยนแปลงเท่าๆ กัน
โหลดที่เกิดขึ้นที่โข่งหน้าและโข่งหลังเทอร์โบ ก็หมายถึงความเร็วในการตอบสนองของเทอร์โบเช่นกัน การให้อากาศผ่านใส้กรองมาง่ายๆ ก็เป็นการลดภาระการดูดให้กับโข่งหน้า ส่วนการขยายท่อให้ไอเสียออกได้ไว ก็เป็นการลดภาระให้โข่งหลัง ทั้งนี้การเพิ่มขนาดท่อไอเสียหลังเทอร์โบ มีเรื่องความร้อนและความดันมาเกี่ยวข้อง ซึ่งต่างจากขนาดท่อหน้าเทอร์โบ ที่มีเรื่องbackpressure มาเกี่ยวข้อง  เรื่องนี้ซับซ้อนมาก ต้องยกไปตอนหน้านะครับ
ทั้งนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพของทุกๆ ส่วนหมายถึง การประหยัดน้ำมันมากขึ้นทั้งสิ้น เพราะแรงที่จะต้องใช้ในการทำงานต่างๆ มีจุดกำเนิดมาจากน้ำมันที่เราใส่เข้าไป
คิดว่าหลายๆ คนพอจะเห็นภาพนะครับ และอาจมีส่วนช่วยในการตัดสินใจในการปรับแต่งรถของตัวเอง
การไม่ได้เป็นเรื่องที่ง่ายอย่างที่คิดครับ ซึ่งวิศวกรที่ออกแบบเครื่องยนต์มาให้เราใช้นั้น ผมเชื่อว่าเก่งกว่าเรามากนัก ผมว่าเค้าคิดถึงเรื่องอื่นๆ มากกว่าเรื่องความแรงเพียงอย่างเดียวเพิ่มแรงอย่างเดียวไม่ยากหรอกครับ แต่การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้ใช้น้ำมันคุ้มค่ากว่าเดิม ครับ